กฎหมายแรงงานสำหรับบริหารงานบุคคล ว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน
กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง และลูกจ้าง องค์การของนายจ้างและองค์การของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนดให้นายจ้าง ลูกจ้าง และองค์การดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและต่อรัฐ โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง การใช้แรงงาน และการจัดสวัสดิการ ที่จำเป็นในการทำงาน หากผู้บริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลขาดความรู้อย่างแท้จริงในเรื่องกฎหมายแรงงาน จะทำให้มีปัญหาในการบริหารงาน และรอวันที่จะปรากฏออกมา ซึ่งจะยากแก่การแก้ไขในวันข้างหน้า
แม้กฎหมายแรงงานจะเป็นเรื่องที่คนทำงานทั่วไปและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลจะได้รู้อยู่แล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าหลายครั้งมีความเข้าใจผิดในบางส่วนบางประเด็น ซึ่งถ้าเป็นการพลาดของฝ่ายบุคคลแล้วกิจการอาจถูกฟ้องร้องเอาได้ หรือสำหรับตัวผู้ใช้แรงงานก็ควรจะรู้และเข้าใจทั้งในหลักการใหญ่และเกร็ดต่างๆ เพื่อที่จะป้องกันสิทธิของตน
หลักสูตรนี้อาจเป็นเรื่องที่หลายท่านคิดว่าเป็นเรื่องทั่วไป แต่จะเน้นการบรรยายในลักษณะที่สรุปหลักการต่างๆ ของกฎหมายประกอบประเด็นที่เกิดขึ้นจากคำพิพากษาของศาลฎีกา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายแรงงานของผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และธุรการบุคคล
2. เพื่อเจาะลึกประเด็นกฎหมายแรงงานและคำพิพากษาศาลฎีกาใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
3. เพื่อนำไปประยุกต์ใช้และเป็นกรอบในการทำงาน
4. เพื่อเปิดมุมมองในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรที่มีประสบการณ์
กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนา
เจ้าของกิจการ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ธุรการบุคคล และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบการอบรมสัมมนา
1. บรรยายโดยสรุปสาระสำคัญของกฎหมายแรงงานประกอบหลักฎีกา
2. ถาม – ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน
หัวข้อสัมมนา
1. การทำสัญญาจ้างแรงงานให้ครอบคลุม เพื่อป้องกันการฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
1.1 ความสำคัญและลักษณะเฉพาะในสัญญาจ้างแรงงาน
1.2 การทำสัญญาจ้างแรงงาน
1.3 ประเภทของสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมาย
2. เงื่อนไขการทำงาน
2.1 เงื่อนไขทั่วไป (เงื่อนไขขั้นต่ำตามกฎหมาย)
- วัน เวลาทำงาน เวลาพัก วันหยุด วันลาต่างๆ
- การจ่ายค่าตอบแทนการทำงาน (ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด) และเงินอื่น
- สวัสดิการที่กฎหมายกำหนด
2.2 เงื่อนไขเฉพาะตามแต่ลักษณะและสภาพของงานหรือกิจการ (สภาพการจ้าง) : การจัดทำและแก้ไขเปลี่ยนแปลง
2.3 ข้อควรระวังในการกำหนดเงื่อนไขในการทำงาน
3. วินัยและโทษ
3.1 วินัยและการลงโทษตามกฎหมาย
3.2 การพักงาน (เพื่อสอบสวนความผิด และเพื่อลงโทษ)
4. การเลิกสัญญาจ้างแรงงาน
4.1 ขั้นตอนและวิธีการเลิกสัญญาจ้างแรงาน
4.2 หน้าที่ของนายจ้างอันเกิดแก่การเลิกสัญญาจ้าง และค่าชดเชย
4.3 เหตุยกเว้นหน้าที่ที่ต้องจ่ายค่าชดเชยและข้อควรระวัง
วิทยากร อาจารย์ ดร.ศุภศิษฎ์ ทวีแจ่มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปอลเซซาน ประเทศฝรั่งเศส หัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก "โครงสร้างกฎหมายแรงงานไทย : ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม กับการค้นหาความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการพัฒนากฎหมายแรงงานไทย” วิทยานิพนธ์ดีเด่นสาขากฎหมายเปรียบเทียบและกฎหมายต่างประเทศ, ผลงานวิชาการ เขียนตำรา “Memorandum of Thai Labour Law” ฯลฯ
กำหนดการ |
วันที่ 12 พฤษภาคม 2559 |
ค่าลงทะเบียน : บุคคลทั่วไป |
4,500 + 315 = 4,815 |
เวลา |
09.00-16.00 น. |
สมาชิก, โอนเงินก่อน 5 พ.ค. 2559 |
4,300 + 301 = 4,601 |
สถานที่ |
โรงแรมอมารี บูเลอวาร์ด |
ลงทะเบียน 2 ท่าน |
8,000 + 560 = 8,560 |
วันที่จัดอบรม
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2559
หน่วยงาน/บริษัท :
บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ชื่อผู้ติดต่อ :
กนกวรรณ
โทร :
021912509,0899254790
ข้อมูลผู้ลงประกาศ
หมายเลขประกาศ
3156
ลงประกาศวันที่
10 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:45 น.
หมวดหมู่หลัก
อบรม การบริหารทรัพยากรมนุษย์
ลักษณะงาน
มีค่าใช้จ่าย
ราคา
4500
หน่วยงาน/บริษัท
บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ชื่อผู้ติดต่อ
กนกวรรณ
เบอร์โทรศัพท์
021912509,0899254790