การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลงานขององค์กรในยุคปัจจุบันได้ กล่าวไม่ถึงนักว่าได้มีความนิยมนำการนำเอา OKRs
หรือ Objective & Key Results มาใช้ทดแทน KPIs กันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุที่การใช้แนวทางการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลงานด้วย
KPIs นั้น มีข้อติดขัดอยู่หลายประการ เช่น มักเป็นตัวชี้วัดผลงานที่เน้นการสั่งการลงมาจากผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาหน่วยงานมากกว่าที่จะเปิดโอกาสให้พนักงาน
ได้คิดและนำเสนอการทำงานเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายระดับบน และมักพบว่า KPIs เป็นตัวชี้วัดผลงานที่มักกำหนดกันปีละครั้งหรือหกเดือนครั้ง ซึ่งอาจจะไม่ตอบโจทย์
การจัดทำแผนงานเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของหน่วยงานมากนัก ประกอบกับหลายองค์กรที่เป็นธุรกิจ Start Up ได้นำมาปรับใช้และปรากฏความเปลี่ยนแปลงใน
เชิงการบริหารและการทำงานของบุคลากรในทางบวกหลายประการ อันเป็นความจำเป็นที่ Professional HR จะได้เรียนรู้จัก OKRs การจัดทำและนำเอา OKRs
มาปรับใช้กับการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลงาน รวมทั้งข้อเสนอในการปรับปรุงงานอื่น ๆ เพื่อให้จัดทำ OKRs ได้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
"การขาย (Selling)" เป็นเรื่องของศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความลึกซึ้ง แต่มีหลายคนมักมองว่าเป็นอาชีพที่ฝึกได้แบบพี่สอนน้อง ซึ่งจริงๆ แล้ว มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย นั้นก็เป็นเพราะการถ่ายทอดแบบนั้นไม่ได้ถ่ายทอดตามหลักของการสร้างความเข้าใจด้านความคิดเกี่ยวกับการขาย บางคนจึงไม่อยากขาย บางคนจึงมีอคติกับเรื่องการขายที่เป็นเชิงลบ วึ่งจริงๆ แล้วทุกธุรกิจต่างก็ต้องพึ่งการขาย ยิ่งในยุคปัจจุบันบางแผนกในอดีตองค์กรไม่เคยมีขายเลย เป็นส่วนงานแค่ซัพพอร์ทเท่านั้น แต่ในปัจจุบันที่การแข่งขันต้องรวดเร็ว บางองค์กรจึงต้องเริ่มฝึกพนักงานบางส่วนให้เริ่มที่คิดจะขาย ก่อนที่องค์กรจะขาดพนักงานขายที่หารายได้เข้าองค์กร
หัวข้อเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ความหมาย คุณค่าของ OKRs
ความแตกต่างระหว่าง OKRs กับ KPIs
วิธีคิด (Mindset) ที่ถูกต้องสำหรับการจัดทำและปรับใช้ OKRs
การผสมผสาน OKRs กับ KPIs
แนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานได้ตรงจุดและได้ผลด้วย OKRs
แนวทางการตั้งเป้าหมาย (Objectives) และการกำหนดผลลัพธ์หลัก (Key Results) ที่รองรับเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมกับหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานและสอดคล้องตามแนวคิด OKRs
รู้จักกับ OKRs
+ ความเป็นมาของ OKRs
+ OKRs คืออะไร
+ เหตุใดองค์กรชั้นนำจึงนิยมใช้ OKRs
+ ความแตกต่างของ OKRs และ KPIs รวมถึงการวัดแบบอื่น ๆ
วิธีคิด (Mindset) ที่ใช่เพื่อให้นำเอา OKRs มาใช้อย่างได้ผล
หลักการและแนวทางการกำหนด OKRs
(1) การกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย : Objectives
+ การเชื่อมโยงกลยุทธ์องค์กรกับ Objectives
+ Objectives อย่างไรที่ตั้งแล้วได้ผลดี
+ เทคนิคการกำหนด Objectives ที่ SMART พร้อมตัวอย่าง
+ ปัญหาของการกำหนด Objectives และแนวทางแก้ไข
(2) การกำหนดผลลัพธ์หลัก : Key Results
+ การเชื่อมโยง Objectives กับ Key Results เข้าด้วยกัน
+ หลักการพื้นฐานของการกำหนด Objectives กับ Key Results
+ เทคนิคการกำหนด Key Results ที่ SMART พร้อมตัวอย่าง
+ ปัญหาของการกำหนด Key Results และแนวทางแก้ไขการนำเอา OKRs มาใช้ให้เกิดผลดี
+ แนวทางการกำหนด OKRs ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันทั้งองค์กร
+ รอบระยะเวลาในการจัดทำ, การติดตามและประเมินการปฏิบัติงานตาม OKRs
+ แนวทางกำหนดค่าคะแนนหรือระดับผลการปฏิบัติงานเมื่อใช้ OKRs
+ การนำผลการประเมินการปฏิบัติงานด้วย OKRs ไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์กร
+ การสะท้อนผลงานด้วยแนวคิด CFR
กรณีศึกษาการใช้ OKRs และฝึกปฏิบัติการกำหนด OKRs ของหน่วยงานตัวอย่าง
บทบาทหน้าที่ในการผลักดันการใช้ OKRs เพื่อขับเคลื่อนงานให้สำเร็จผล
วิธีการเรียนรู้ :
บรรยายอย่างย่อและซักถาม
อภิปราย/แลกเปลี่ยนประสบการณ์
กรณีตัวอย่าง พร้อมคำแนะนำ
ฝึกปฏิบัติตามโจทย์ที่กำหนด