Lean management
หลักการและเหตุผล (About the Event) .
Lean process เป็นวิวัฒนาการกระบวนการผลิตล่าสุดของมวลมนุษยชาติ กระบวนการผลิตของมนุษย์ได้เริ่มพัฒนาจากการออกแบบชิ้นส่วนปืนให้ใช้ร่วมกันได้โดย Whitney ในปี 1850 จากนั้น Federick Taylor ได้คิดค้นการทำงานเป็น Process ได้ ต่อมา Henry Ford ได้คิดกระบวนการประกอบรถยนต์ได้ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง Edward Deming ได้เข้าไปช่วยญี่ปุ่นพัฒนาอุตสาหกรรมจนเกิดเป็นทฤษฎี PDCA อันลือลั่น Toyota นำหลักการนี้มาพัฒนาเป็น Toyota Production System (TPS) จนกระทั่งในปี 1990 Jim Womack จากสถาบัน MIT ได้เขียนหนังสือเรื่อง The machine that changed the world และเรียกระบบนี้ว่า LEAN และหลังจากนั้นบริษัท Motorola ได้นำระบบ Lean ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพทางสถิติเรียกว่า Lean-Six Sigma. Lean manufacturing เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1975
และใช้อยู่ในโรงงานอยู่ 30 ปีจึงได้พัฒนา beyond factory เข้าสู่กระบวนการทำงานทุกชนิดเป็น Lean management เช่นโรงพยาบาล งานราชการ ก่อสร้าง ธนาคาร ธุรกิจประกัน logistics และทุกอย่าง
Lean process คืออะไร มีชาวอินเดียได้ให้นิยามความหมายของ Lean ไว้อย่างเข้าใจได้ง่ายว่า Lean is learning to see wastes by continuously improving everything ซึ่งแปลว่า Lean คือการเรียนรู้เรื่องความสูญเสียโดยการปรับปรุงทุกอย่าง อย่างต่อเนื่อง Lean จึงเป็นกระบวนการที่มุ่งขจัดความสูญเสีย 8 ประการคือ 1.Defects หรืองานเสีย งานผิด พลาดเป้า งานซ่อม 2. Over production คือการใช้ระบบ Push ไม่ใช้ระบบ Pull 3.waiting times มีเวลารอต่างๆมากมายเพราะความผิดพลาดในการบริหารจัดการ Man Machine Material Method 4. Underutilized employee’s talent ไม่ได้ใช้ความสามารถของพนักงาน “ผู้ทำไม่ได้รู้ไม่ได้ฝึก ผู้รู้ไม่ใช่คนทำ” 5. Excessive material handling การเคลื่อนย้ายที่มากเกินไปไม่เป็นเส้นตรง 6.High inventory 7. Excessive motions ไม่มีการศึกษางาน 8. Unnecessary process เช่นตั้งแผนกซ่อมงาน
Lean แก้ปัญหา defects ด้วย continuous improvement-Kaizen ผู้ปฎิบัติต้องมีขีดความสามารถใช้ QC tools ในการวิเคราะห์งานเสีย หาสาเหตุเองได้ปรับปรุงเองเป็น แก้ปัญหา over production โดยการวางแผนด้วย Take Time เลิกระบบ Push แก้ปัญหา waiting time ด้วย Supplier development และ Total productive maintenance(TPM) แก้ปัญหาการไม่ใช้ความสามารถของพนักงานด้วยการทำ Competency development มี KPI ใน Job description, แก้ปัญหาและปรับปรุง material handling ลด inventory ด้วย Take Time และ E-Kanban, ขจัด excessive motions ด้วย 5 ส และ work study อันสุดท้ายต้องไม่มี unnecessary process
วัตถุประสงค์ (objective) .
- เพื่อให้องค์กรผู้เข้าร่วมสัมมนาตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนรูปธุรกิจไปสู่ Lean
- ขจัดความสูญเสีย 8 ประการ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ และลดเวลากระบวนการทำงานให้สั้นลง
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีแนวทางในการสร้างวัฒนธรรม lean-continuous improvement
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเรียนรู้ถึงขั้นตอนการ implement lean process นำไปทำเองได้ทันที
- องค์กรมีความสามารถในการลดต้นทุน ส่งมอบสินค้าและบริการทันเวลาและเร็วขึ้น ผลงานที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ เพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้าสูงสุด
- องค์กรเพิ่มระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถเพิ่มธุรกิจ
สิ่งที่ท่านจะได้เรียนรู้ (What you will learn) .
- ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับปรัชญาที่มาและวิวัฒนาการของ Lean
- จะเริ่มต้น สร้างระบบ LEAN ที่จุดไหน เริ่มอย่างไร
- 5 ขั้นตอนในการเปลี่ยนธุรกิจไปสู่ Lean คือ 1.Value definition 2.Value stream analysis, 3.Flow 4.Pull/JIT 5.Perfection
- จะสร้างวัฒนธรรม lean-continuous improvement ในองค์กรได้อย่างยั่งยืนอย่างไร
- วิธีการเขียนแผนผังสายธารแห่งคุณค่า การวิเคราะห์กระบวนการทำงานเพื่อให้ตระหนักถึงสถานการณ์ปัจจุบัน และมองเห็นกิจกรรมที่ไม่เกิดคุณค่า
- วิธีเปลี่ยนการทำงานจากระบบ Push ไปเป็นระบบ Pull
- การวิเคราะห์สาเหตุของ 8 wastes และวิธีการใช้เครื่องมือทางคุณภาพขจัด
- CI-Kaizen การปรับปรุงคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง
- การซ่อมบำรุงแบบทวีผล (Total Productive Maintenance)
- กลยุทธ์ Lean implementation อย่างสำเร็จ
กลุ่มเป้าหมาย (Who should attend?) .
- ผู้บริหารอาวุโส (Senior management)
- ผู้บริหารโรงงานทุกระดับ (Factory management all levels)
- ผู้บริหารโครงการก่อสร้างทุกระดับ (Construction management all levels)
- ผู้บริหาร Logistics บริษัทขนส่งทุกระดับ (Logistics management all levels)
- วิศวกรกระบวนการผลิต (Manufacturing engineer)
- วิศวกรอุตสาหกรรม (Industrial engineer)
- ผู้ทำงานเกี่ยวกับการผลิตแบบ Lean (Lean transformation leader)
- ผู้อบรมประจำองค์กรต่างๆ (Trainers, Speakers)
วิทยากร (Speaker)
อาจารย์พิสิทธิ์ ชูยงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity improvement ของ องค์การสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาการค้า UNCTAD (United Nations Conference for Trade Development) และ USAID (United State Aid for International Development) และผู้เชี่ยวชาญในระดับสากลว่าด้วยการผลิตแบบลีน อาจารย์มีประสบการณ์ตรงจากการเคยเป็นวิศวกรอุตสาหการ ผู้จัดการฝ่าย Industrial engineering, Production manager, Factory manager, General manager, และวางระบบ Lean ในโรงงานมาตั้งแต่ปี 1987 นอกจากนี้ยังได้มีส่วนในการช่วยให้องค์กรอื่น ๆ นำแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติจนได้รับความสำเร็จอย่างมหาศาล โดยในการสัมมนาครั้งนี้ อาจารย์พิสิทธิ์ ชูยงค์ จะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์กับท่านถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มา ในการทำความเข้าใจวัตถุประสงค์และพลังแห่งการปฏิบัติตามวิถีแห่งลีน
ค่าอบรม |
ราคาก่อน VAT |
VAT 7% |
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% |
รวมค่าอบรมสุทธิ |
ค่าสัมมนา 1 ท่าน |
4,000 |
280 |
(120) |
4,160 |
Early Bird ชำระล่วงหน้า |
3,600 |
252 |
(108) |
3,744 |
วันที่จัดอบรม
วันพุธที่ 26 กันยายน 2561
หน่วยงาน/บริษัท :
PTS Training
ชื่อผู้ติดต่อ :
Aranya Chaidejsuriya
โทร :
0868929330
Tags :
ข้อมูลผู้ลงประกาศ
หมายเลขประกาศ
7196
ลงประกาศวันที่
29 พฤษภาคม 2561 เวลา 18:31 น.
หมวดหมู่หลัก
อบรม การบริหารจัดการ-กลยุทธ์ธุรกิจ
ลักษณะงาน
มีค่าใช้จ่าย
ราคา
4000
หน่วยงาน/บริษัท
PTS Training
ชื่อผู้ติดต่อ
Aranya Chaidejsuriya
เบอร์โทรศัพท์
0868929330