การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “อนาคตของผลิตภัณฑ์สุขภาพกับมาตรการ การใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ตามแผนการดาเนินงาน Thailand 4.0”
ที่มาและความสาคัญ
ในปัจจุบันสินค้าต่างๆ ได้ถูกผลิตออกมาเพื่อจัดจาหน่ายอย่างมากมาย ซึ่งสินค้าต่างๆ เหล่านี้ มีทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภคแต่ในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดที่ดาเนินการจัดเก็บข้อมูลสินค้าให้เป็นระบบระเบียบอย่างชัดเจน ทาให้เกิดปัญหาสินค้าลอกเลียนแบบ สินค้าที่ไม่มีการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้นจึงได้ดาเนินการโครงการดังกล่าวเพื่อรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดสินค้าต่างๆ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลสินค้าให้มีความน่าเชื่อถือสามารถใช้อ้างอิงข้อมูลหรือเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาต่อยอดระบบต้นแบบในการพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการติดตามตรวจสอบย้อนกลับสินค้าและบริการได้ตลอดห่วงโซ่ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ สมุนไพร และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งเกิดประโยชน์ทั้งด้าน supply และ Demand ผู้ผลิตสามารถนาแนวคิดนี้ไปต่อยอดกระบวนการบริหารจัดการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการ ICT สามารถใช้แนวทางการพัฒนาระบบต้นแบบในการพัฒนาระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถติดตามตรวจสอบเส้นทางการผลิตและการจัดจาหน่ายของสินค้าตลอดห่วงโซ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการผลิตและการจัดการสินค้าให้กับผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกาไร ซึ่งมีความชานาญในเรื่องของการจัดทาการตรวจสอบระบบย้อนกลับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งการร่วมมือกันดังกล่าวเป็นการรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดสินค้าต่างๆ ที่จาหน่ายในท้องตลาดเพื่อเป็นการจัดเก็บฐานข้อมูลกลางของสินค้า (Trusted Source of Product Information Data Pool) เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือเป็นฐานข้อมูลกลาง ทาให้ข้อมูลสินค้ามีความทันสมัยอยู่เสมอ ลดความซ้าซ้อน ลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกลางสินค้าระหว่างคู่ค้า
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงกับระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐาน สามารถอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลที่มีความถูกต้องได้
2) เพื่อศึกษากลไกห่วงโซ่อุปทานและการเชื่อมโยงข้อมูลในกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ของกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างน้อย 3 กลุ่ม ดังนี้ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ สมุนไพร และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
3) เพื่อศึกษาและออกแบบการเชื่อมโยงข้อมูลสินค้า และระบบการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจสอบมาตรฐานสินค้ากับหน่วยงานนาร่อง
4) สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการถึงความสาคัญและประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูลสินค้าตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างโอกาสในการขยายตลาดต่อไป
5) กลุ่มผู้ประกอบการสินค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวทางต่อยอดในการพัฒนากระบวนการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าในส่วนที่เกี่ยวข้องได้
โครงการศึกษาแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าและกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับสินค้า (Traceability
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มอุตสาหกรรมต้นแบบกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ (กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ สมุนไพร และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม)
เป้าหมายกิจกรรม
1) สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการและตระหนักถึงความสาคัญในการจัดทาข้อมูลสินค้าที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อที่สามารถนาไปพัฒนากระบวนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานสินค้าของตนได้
2) มีความร่วมมือ และเกิดการยอมรับร่วมกันระหว่าง Stakeholder เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลได้จริง และสามารถนาไปใช้ต่อยอดในอุตสาหกรรมและออกสู่ต่างประเทศได้
3) มีกรอบมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดของสินค้าอุปโภค บริโภคที่ผลิตหรือจาหน่ายในประเทศไทย และแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลตามมาตรฐานสากล
4) มีระบบต้นแบบ 1 ระบบ ที่สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ สมุนไพร และอาหารเสริม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนาใช้ไปประโยชน์ต่อยอดพัฒนาระบบการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้
5) สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคที่สามารถทราบถึงข้อมูลที่มาของสินค้าที่ตนเองบริโภคได้ โดยหากเกิดอันตรายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้านั้นก็สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสินค้าหรือตรวจสอบจากแหล่งกาเนิดไปจนถึงผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายได้
6) สร้างเครือข่ายให้กับผู้ประกอบการรวมถึง ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี ข้อมูลที่สาคัญด้านมาตรฐานสินค้า เพื่อสร้างศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งในอุตสาหกรรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และเจ้าของสินค้ามีฐานข้อมูลของสินค้าที่ถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ
2) ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูล วิธีการใช้งาน ตลอดจนข้อมูลของผู้ผลิตสินค้าได้อย่างถูกต้อง
3) เพิ่มโอกาสของผู้ผลิตสินค้ารายย่อย (SMEs) ในการเผยแพร่สินค้าต่อผู้บริโภค
4) ระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลกลางของสินค้านี้สามารถรองรับการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ในการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น อย., สมอ., สคบ. เป็นต้น
5) ระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลกลางของสินค้าสามารถรองรับการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบร้านค้าออนไลน์ (e-Commerce) ทั่วไปได้ ทาให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ระบบร้านค้าออนไลน์ ณ จุดเดียว
วันที่จัดอบรม
วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560
หน่วยงาน/บริษัท :
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ชื่อผู้ติดต่อ :
อัครพร
โทร :
0941529310
Tags :
ข้อมูลผู้ลงประกาศ
หมายเลขประกาศ
4715
ลงประกาศวันที่
18 มกราคม 2560 เวลา 05:26 น.
หมวดหมู่หลัก
อบรม อุตสาหกรรม - คุณภาพ - มาตราฐานต่างๆ
ลักษณะงาน
สัมมนาฟรี
ราคา
ไม่ระบุ
หน่วยงาน/บริษัท
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ชื่อผู้ติดต่อ
อัครพร
เบอร์โทรศัพท์
0941529310