"วิเคราะห์เจาะลึกรายการในแบบภ.ง.ด 50 เพื่อลดหรือรับมือกับข้อพิพาทภาษี"
รายละเอียด
วันที่ 25-26 ตุลาคม 2559
ห้องมรกต โรงแรมอริสตั้น สุขุมวิท 24 BTS สถานีพร้อมพงษ์
CPD : ผู้ทำบัญชี/ผู้สอบบัญชี : อื่นๆ 12 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ศึกษารายการในแบบภ.ง.ด. 50 เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกเรียกตรวจสอบหรือประเมินภาษี ระหว่างปี 2558-2560
- เจาะประเด็นความเหมือนความแตกต่างระหว่าง TFRS For NPAEs TFRS For SMEs กับภาษี
- เจาะประเด็นที่มักเกิดข้อพิพาทภาษี กรณีศึกษาแนวทางจากหนังสือตอบข้อหารือ/คำพิพากษาศาล
- หลักการอุทธรณ์ที่สำคัญหากถูกประเมินภาษี ที่นักบัญชีควรทราบ
หัวข้ออบรม
วันที่ 25 ตุลาคม 2559 วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษีสรรพากร
1. แนวนโยบายการเรียกตรวจสอบภาษีจากการวิเคราะห์ฐานความเสี่ยง (Risk Based Audit Model : RBA)
2. ทบทวนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล SME และเงื่อนไขสิทธิยกเว้น/ลด อัตราภาษี
3. มาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล
การวิเคราะห์รายการในแบบภ.ง.ด.50 จากมุมมองแนวปฏิบัติ เพื่อลดข้อ พิพาทภาษี
4. รายได้ในการคำนวณภาษี
1) รายได้โดยตรงจากการประกอบกิจการ งวดบัญชีที่รับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิ
2) รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร(รายได้จากการประเมินของเจ้าพนักงาน)
ประเด็นที่มักเกิดข้อโต้แย้ง มาตรา 65 ทวิ (4) ,สินค้าขาด/เกินจากรายงาน สินค้าและวัตถุดิบ
3) หลักการรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร
4) รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้
+ กฎหมายใหม่ ยกเว้นภาษีเงินได้ให้ลูกหนี้สถาบันการเงินที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้และปลดหนี้ ตามพรฎ.623ฯ และการตัดหนี้สูญของเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ยกเว้นรวมถึงดอกเบี้ยด้วยหรือไม่
5) รายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น และข้อควรระวังในการใช้สิทธิ
5. รายได้อื่น/รายจ่ายอื่น
กำไร/(ขาดทุน)จากการจำหน่ายทรัพย์สิน กำไร/(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร เงินชดเชยค่าภาษีอากร
6. ต้นทุนขาย/ต้นทุนผลิต/ต้นทุนการให้บริการ การแกว่งตัวของต้นทุนในภาวะเศรษฐกิจซบเซา จะเป็นเหตุให้ถูกเรียกตรวจสอบหรือไม่
7. รายจ่ายในการขายและบริหาร
1) รายจ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ผลเสียหายจากพนักงานทุจริตเป็นรายจ่ายได้หรือไม่/ต้องลงรอบบัญชีใด
2) ค่าตอบแทนกรรมการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อคนต่อปีต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
3) ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าเช่า
4) ค่าพาหนะ รายจ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก
5) ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ค่าส่งเสริมการขาย ลดแลกแจกแถม/ล้างสต๊อก/สินค้าล้าสมัย แค่ไหนที่สรรพากรยอมรับ
6) ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นรายจ่ายปีเกิดหรือปีจ่ายจริง
7) ต้นทุนทางการเงิน ดอกเบี้ย
8) ค่าธรรมเนียมในการให้คำแนะนำและปรึกษา จ่ายค่าที่ปรึกษาให้วิศวกร ทนายความเป็นเงินเดือนเดือนละเท่าๆ กันเป็นค่าวิชาชีพอิสระหรือไม่
9) ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์รายจ่ายเพื่อการลงทุนในประเทศของทรัพย์สินที่ได้มาระหว่าง
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 – 31 ธันวาคม 2559 ตามพรฎ.604 + พรฎ.622
8. รายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น และข้อควรระวังในการใช้สิทธิประโยชน์ภาษี กรณีต้องมีกำไรกับไม่ต้องมีกำไรก็ได้สิทธิ
8.1. การฝึกอบรม/สวัสดิการแก่ลูกจ้าง/พนักงาน
8.2 รายจ่ายเกี่ยวกับคนพิการ
8.3 รายจ่ายบริจาคเพื่อการศึกษา 8.4 รายจ่ายเพื่อการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
9. รายจ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สิน
10. ขาดทุนสุทธิที่ยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบัน หรือผลขาดทุนก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันที่หักได้ตามกฎหมายอื่น เปลี่ยนรอบบัญชี รอบควบกิจการนับรอบบัญชีอย่างไร
11. ปัญหากฎหมายสิทธิประโยชน์ภาษีที่ออกหลังนโยบาย ผู้เสียภาษีควรทำอย่างไร ขอคืนหรือสละสิทธิ ถ้าสละปีต่อ ๆ ไปถือว่าสละสิทธิหรือไม่
12. ถาม-ตอบ
วันที่ 26 ตุลาคม 2559 วิทยากร อ.วิไล วัชรชัยสิริกุล
มุมมองด้านกฎหมายกับภาษีเพื่อรับมือกับข้อพิพาทภาษี
1. สินทรัพย์กับประเด็น
ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นไม่ครบ บันทึกบัญชีลูกหนี้ค่าหุ้น หรือลูกหนี้กรรมการ
+ ดอกเบี้ยลูกหนี้กรรมการ คิดอย่างไร ต้องบันทึกบัญชีหรือไม่
+ การเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่ม ต้องประชุมผู้ถือหุ้นหรือไม่
+ โทษของการไม่เรียกชำระค่าหุ้น
+ สินค้า สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ต้องเสียเงินได้/ภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอไปหรือไม่
2. หนี้สินกับประเด็น
2.1 เจ้าหนี้กรรมการ
+ การลดความเสี่ยงจากข้อสันนิษฐานของสรรพากรว่าเป็นรายได้
+ ความแตกต่างระหว่างการทำหลักฐานการกู้ยืมเป็นสัญญากู้ยืมกับตั๋วสัญญาใช้เงิน
2.2 การแปลงหนี้เป็นทุน ทำอย่างไรถูกกฎหมายและสอดคล้องกับภาษี
3.ส่วนของเจ้าของกับภาษี
1) การเพิ่มทุน โดยส่วนเกินมูลค่าหุ้นสูงผิดปกติ สรรพากรประเมินเป็นรายได้ได้หรือไม่
2) ลดทุนแล้ว ลดสำรองตามกฎหมายได้หรือไม่ ประเด็นภาษีที่ต้องระวังเกี่ยวกับการลดทุน
3) การลดทุนตัดขาดทุนสะสมแล้วจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่
4) ความแตกต่างระหว่างสิทธิประโยชน์เงินปันผลบริษัทในตลาดกับนอกตลาด
4. ภาพรวม TFRS For SMEs กับความแตกต่างระหว่างบัญชีกับภาษี
+ผลแตกต่างจากการรับรู้เงินลงทุนในบริษัทย่อยด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรม ,ส่วนได้เสีย
+ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ที่วัดมูลค่าตามวิธีราคาที่ตีใหม่
+ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน/ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา
+ การด้อยค่าของทรัพย์สิน
5. รายได้จากการประกอบกิจการและได้เนื่องจากการประกอบกิจการ
+การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม TFRS For SMEs (รับรู้เมื่อโอนเพียงวิธีเดียว) กับการรับรู้ทางภาษี
6. รอบบัญชีการเงินกับรอบบัญชีภาษี
+ รอบแรก รอบควบกิจการ รอบโอนกิจการ , การเปลี่ยนรอบบัญชี ที่อาจมีผลต่อภาษี
+ รอบเลิกกิจการ ความแตกต่างของเงินปันผลที่จ่ายก่อนหรือหลังจดทะเบียนเลิกกิจการ
7. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลภ.ง.ด.50,51 กับเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษี
+ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มยื่นแบบภงด 50 ล่าช้า ผลเสียหายอื่น ๆ ที่อาจเกิดกรณียื่นแบบล่าช้า
8. รายจ่ายในการขายและบริหาร
1) รายจ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ลูกจ้างกับพนักงานเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ ,ลูกจ้างตามกฎหมายภาษีจำเป็นต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมหรือไม่ ,ค่าฝึกอบรม/สวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้าง/พนักงาน
2) ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าตอบแทนกรรมการต่างจากเงินได้จากการจ้างแรงงานอย่างไร ,การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการที่ไม่เป็นรายจ่ายบวกกลับ
3) ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าโทรศัพท์ กรณีศึกษาคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับค่าไฟฟ้า
4) อัตราค่าพาหนะ รายจ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก พรฎ.กฤษฎีกาเดินทางล่าสุดของทางราชการ
5) ค่าภาษีอากรอื่น ๆ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
6) ค่าธรรมเนียมในการให้คำแนะนำและปรึกษา เป็นเงินได้ 40(2) หรือ (6) เปรียบเทียบแนวหนังสือตอบข้อหารือและคำพิพากษาศาลฎีกา
9. ต้นทุนทางการเงิน ดอกเบี้ยจ่าย
+ ดอกเบี้ยจ่าย ปัญหาการรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี/รายจ่ายเพื่อการลงทุนทางภาษี ตามแนวคำพิพากษา
+ กรรมการการกู้เงินมาเป็นทุนหมุนเวียนในบริษัท ขั้นตอนทางกฎหมายที่ทำให้ลงดอกเบี้ยเป็นรายจ่ายไม่ต้องห้าม
+ กู้เงินมาจ่ายเงินปันผล ดอกเบี้ยลงรายจ่ายได้หรือไม่
10. คำรับรองของผู้ลงชื่อในแบบภงด.50 กรรมการ/หุ้นส่วน/ผู้จัดการ/ผู้ทำบัญชี/ผู้สอบบัญชี กับกฎหมายและ จรรยาบรรณ
11. กลยุทธ์การอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ระยะเวลาอุทธรณ์ ,เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการอุทธรณ์ ,ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายที่ต้องเขียนในอุทธรณ์
12. กลยุทธ์(บางประการ)ในการฟ้องคดีภาษี
+ ความสำคัญของการยกข้อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
+ การเรียกดอกเบี้ยเงินภาษีที่ได้รับคืนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด
13. ถาม-ตอบ
++ ค่าอบรม 2 วัน สมาชิก 5,350 บาท บุคคลทั่วไป 6,420 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ดาวน์โหลดโบว์ชัวร์ http://nukbunchee.com/cms/?post_type=event&p=70777
จองสัมมนาhttp://nukbunchee.com/cms/seminars/59102526/#register
วันที่จัดอบรม
วันพุธที่ 0 543
หน่วยงาน/บริษัท :
นักบัญชีดอทคอม
ชื่อผู้ติดต่อ :
นายอภิชา พนารินทร์
โทร :
024151567 ต่อ 15
ข้อมูลผู้ลงประกาศ
หมายเลขประกาศ
4235
ลงประกาศวันที่
12 ตุลาคม 2559 เวลา 06:22 น.
หมวดหมู่หลัก
อบรม กฎหมายธุรกิจ-ภาษี
ลักษณะงาน
มีค่าใช้จ่าย
ราคา
5000-6000
หน่วยงาน/บริษัท
นักบัญชีดอทคอม
ชื่อผู้ติดต่อ
นายอภิชา พนารินทร์
เบอร์โทรศัพท์
024151567 ต่อ 15